Month: April 2022

สำนักงานสลากฯ เดินสายแจงโครงการสลาก 80

ผอ.สำนักงานสลากฯ เดินสายชี้แจงโครงการสลาก 80 กับตัวแทนจำหน่ายภาคอีสาน เพื่อให้ได้ตามเป้า มีโครงการสลาก 80 ไม่เกิน 1,000 จุด ทั่วประเทศ ภายในงวดวันที่ 16 มิถุนายน 2565 วันนี้ (9 เม.ย.) พันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเดินทางไปเป็นประธานในการจัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ให้กับตัวแทนจำหน่ายสลากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการสลาก 80 และ จะเดินทางไปจัดกิจกรรมแบบเดียวกันนี้ที่จังหวัดอุดรธานี ในวันพรุ่งนี้(10 เม.ย.) พันโทหนุนกล่าวว่า โครงการสลาก 80 เป็นโครงการที่คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลได้วางแนวทางไว้ เพื่อให้ประชาชนสามารถหาซื้อสลากได้ในราคา 80 บาท จากจุดจำหน่ายที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยตัวแทนจำหน่ายจะได้รับสลากไปจำหน่ายจุดละ 25 เล่ม หรือ 2,500 ฉบับ ภายใต้เงื่อนไขที่สำนักงานสลากฯ กำหนด การซื้อขายสลากโครงการนี้ ดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง และถุงเงิน ปีนี้ สำนักงานสลากฯ จะกระจายจุดจำหน่ายออกไปในทางกว้าง จำนวนไม่เกิน 1,000 จุด

Read More
OISHI ทุ่ม 450 ล้าน รุกเปิดสาขาร้านอาหาร

OISHI รุกโตต่างประเทศ ส่งเครื่องดื่มโออิชิ กรีนทีลุยลาว กัมพูชา เมียนมา เพิ่มฐานลูกค้าใหม่ๆ เปิดแผนธุรกิจปี 65 เร่งขยายสาขารีแบรนด์ธุรกิจต่อเนื่อง หวังขยายฐานลูกค้า เพิ่มเติบโตแข็งแกร่ง ทุ่มงบลงทุนใหม่ปีนี้450 ล้าน ขยายสาขาร้านอาหาร นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ OISHI เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ธุรกิจส่งออกเครื่องดื่มไปยังประเทศ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา มีการเติบโตสูงถึง 10% สะท้อนว่าตลาดยังมีความต้องการ และการเติบโตได้ต่อเนื่อง สำหรับปีนี้บริษัทเน้นส่งออกเครื่องดื่มโออิชิ กรีนที ไปต่างประเทศ และมีแผนการเดินหน้าขยายธุรกิจในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากเห็นโอกาสใหม่ในการสร้างการเติบโตในอนาคต ดังนั้นเชื่อว่าตลาดเหล่านี้จะเป็นตลาดสำคัญที่หนุนการเติบโตให้กับบริษัทต่อเนื่องในระยะข้างหน้า สำหรับปี 2565 โออิชิมีแผนขยายตลาดต่อเนื่อง ทั้งในธุรกิจที่เกี่ยวกับเครื่องดื่ม และอาหาร โดยเฉพาะการขยายธุรกิจผ่านการขยายสาขา เพิ่มจุดให้บริการ เพื่อเพิ่มการเติบโตให้กับธุรกิจ โดยคาดว่าปีนี้จะใช้วบลงทุนเพื่อขขยายสาขาต่างๆ ราว 450 ล้านบาท หากเทียบกับปีที่ผ่านมาที่มีการลงทุนอยู่ที่

Read More
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดคงเป้าจีดีพีโต 3.3% จับตา ธปท.เริ่มส่งสัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้นเดือน มิ.ย.

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเริ่มส่งสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในการประชุมเดือนมิถุนายนนี้ และคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในไตรมาส 3 ปีหน้า และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของปี 2566 “เราคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ไปจนถึงกลางปีหน้า อย่างไรก็ตาม ธปท.น่าจะเริ่มส่งสัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้นในอีก 2-3 เดือนข้างหน้านี้ เงินเฟ้อกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยยังเป็นที่ติดตามว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อนี้จะเป็นเพียงระยะสั้นหรือไม่ และจำเป็นต้องใช้ดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาในตอนนี้หรือไม่” นายทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าว “ต้องให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งเพียงพอที่จะรับมือกับการขึ้นดอกเบี้ยได้ก่อน ธปท. จึงจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยได้อย่างไม่เป็นกังวล โดยจากถ้อยแถลงของ ธปท.ก่อนหน้านี้ ยังให้น้ำหนักกับการคงดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเดือน มิ.ย.-พ.ค.เป็นเดือนที่สำคัญเพราะเฟดไม่เพียงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่เป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่แรง ทำให้ส่วนต่างกับอัตราดอกเบี้ยไทยกว้างขึ้นพอสมควร จึงต้องดูว่าการประชุม กนง.เดือน มิ.ย.นี้ ธปท.จะเปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายดอกเบี้ย และส่งสัญญาณปรับขึ้นหรือไม่ หากเป็นไปตามนั้นเราอาจจะพิจารณามุมมองการปรับดอกเบี้ยขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ก็ได้” ธนาคารกลางในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศได้ส่งสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น โดยมีธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เริ่มนำร่อง และในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ความเห็นจากคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟดหลายท่านทำให้ตลาดเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก

Read More
BBLAM แนะ 5 กองทุนเด่นเหมาะเพิ่มน้ำหนักลงทุนช่วงไตรมาส 2

กองทุนบัวหลวง (BBLAM) แนะนำ 5 กองทุนหุ้นต่างประเทศ-หุ้นไทย ที่เหมาะเพิ่มน้ำหนักลงทุนประจำไตรมาส 2 เน้นธีมการลงทุนระยะยาว-มูลค่าน่าสนใจ วันที่ 7 เมษายน 2565 นายสันติ ธนะนิรันดร์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า ภาพรวมการลงทุนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 นี้ ปัจจัยทางเศรษฐกิจหลักๆ ที่มีผลต่อการลงทุนยังไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ทิศทางเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการดูดซับสภาพคล่องในระบบ ส่วนปัจจัยที่เพิ่มมา คือ สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อ เนื่องจากทำให้ราคาพลังงาน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นรวดเร็ว และทำให้เกิดปัญหาการหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 เริ่มมีผลกับตลาดน้อยลง จากปัจจัยที่กล่าวมา ทีม Investment Strategy ของ BBLAM ได้จัดทำคำแนะนำการลงทุน B-SELECT คัดเลือก 4

Read More
ตลท.เผย SET มี.ค.ยังสูงขึ้น ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่อง

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือน มี.ค.65 ผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นมาก และส่งผลให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับลดลง อีกทั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นสูงเกินกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้มีความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี และ 2 ปีของสหรัฐฯ ที่ติดลบ (Inverted Yield Curve) ทำให้ผู้ลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลท. เปิดเผยว่า จากปัจจัยภายในประเทศที่มีความเชื่อมโยงไปยังรัสเซียและยูเครนค่อนข้างน้อย และเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะในภาคบริการและการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะได้อานิสงส์จากการกลับมาเปิดเมืองในอนาคต ทำให้เห็น Fund Flow จากผู้ลงทุนต่างชาติไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ลงทุนต่างชาติย้ายเงินทุนกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียน โดยในไตรมาส 1/65 มีเงินลงทุนเคลื่อนย้ายมายังตลาดหุ้นไทยมากที่สุด ทำให้ ณ สิ้นเดือน มี.ค.65 SET Index ปิดที่ 1,695.24 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ปรับเพิ่มขึ้น 2.3%

Read More
“วิจัยกรุงศรี” คงคาดการณ์ กนง.ตรึง ดบ.นโยบาย 0.50% ตลอดทั้งปี หนุน ศก.ฟื้นตัวฝ่าแรงกดดันเงินเฟ้อ

วิจัยกรุงศรีชี้เศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์ได้แรงหนุนจากภาคส่งออกที่เติบโตดี ขณะที่การใช้จ่ายในประเทศชะลอลงเล็กน้อย โดยมูลค่าการส่งออกกลับมาเติบโตในอัตราเลขสองหลัก (+16% YoY) ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับดีขึ้น ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม จากการกลับมาเปิดลงทะเบียนเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนการใช้จ่ายในประเทศ ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเติบโตชะลอลง (+2.3% จาก 5.0%) เป็นผลจากสถานการณ์การระบาดในประเทศที่กลับมารุนแรงขึ้น ประกอบกับราคาพลังงานและราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น บั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับลดลง อย่างไรก็ดี มาตรการภาครัฐยังเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยพยุงการใช้จ่ายภาคครัวเรือน เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวชะลอลง (+4.3% จาก 7.8%) ตามการลดลงของการนำเข้าสินค้าทุนเป็นหลัก ขณะที่การลงทุนภาคก่อสร้างค่อนข้างทรงตัว   แม้ในช่วงต้นปีเศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว แต่ในระยะข้างหน้ายังมีปัจจัยลบทั้งจากสถานการณ์จำนวน ผู้ติดเชื้อไวรัสโอมิครอนในไทยที่ยังอยู่ในระดับสูงอาจกดดันความเชื่อมั่นและกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่ปัจจัยภายนอกจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังมีความไม่แน่นอนและอาจยืดเยื้อในไตรมาส 2 กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะยุโรป จึงอาจส่งผลต่อ (i) การค้าระหว่างประเทศจากความต้องการสินค้าและบริการชะลอลง ปัญหาหรืออุปสรรคในการขนส่ง รวมถึงปัญหาห่วงโซ่อุปทานของสินค้าบางกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย (ii) ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้น กระทบต่อทั้งต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจ และค่าครองชีพของประชาชนบั่นทอนการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน   กนง.ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้เล็กน้อย แต่ปรับเพิ่มเงินเฟ้อสูงเหนือกรอบเป้าหมาย วิจัยกรุงศรีคาดดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวที่ 0.50% ตลอดทั้งปี การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 30

Read More
เริ่ม4 เม.ย.นี้ เกณฑ์ใหม่ Cash Balance สกัดหุ้นร้อน

บล.เอเซียพลัส ประเมิน เกณฑ์ใหม่ Cash Balance ไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมตลาด แต่กดดันหุ้นที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติลดลงได้ สกัดกั้นหุ้นเล็กที่ติด Cash Balance ดันราคายาก มีผลแล้วเริ่ม 4 เมษายนนี้ สำหรับเกณฑ์ใหม่กำกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ให้เหมาะสมและเพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุนได้อย่างทันท่วงทีมากขึ้น ด้วยการยกระดับของมาตรการให้เข้มขึ้นจากเดิม รวมทั้งเพิ่มมาตรการการหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว 1 วันทำการเป็นมาตรการในระดับสูงสุด   เริ่ม4 เม.ย.นี้ เกณฑ์ใหม่ Cash Balance สกัดหุ้นร้อน เกณฑ์ใหม่มีรายละเอียดดังนี้   (ใหม่) มาตรการระดับ 1 : ให้ซื้อด้วยการวางเงินสด 100% ก่อนซื้อ (บัญชี cash balance) และห้ามนำหลักทรัพย์ที่กำหนดมาคำนวณเป็นวงเงินซื้อขาย (เดิม) : ให้ซื้อด้วยการวางเงินสด 100% ก่อนซื้อ (บัญชี cash balance)   (ใหม่) มาตรการระดับ 2 : ให้ซื้อด้วยการวางเงินสด 100%

Read More
“ธปท.” เผย ศก.เดือน ก.พ.ทิศทางฟื้นตัวตามส่งออกดีขึ้น-นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่ม จับตาโควิด-ยูเครน

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ.65 ว่ายังอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัว โดยการส่งออกสินค้าปรับเพิ่มขึ้นบ้างตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับดีขึ้น ขณะเดียวกันจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ตามการกลับมาเปิดลงทะเบียนเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับดีขึ้นบ้าง อย่างไรก็ดี การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัว จากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลาง ขณะที่ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงานและอาหารสด รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เร่งขึ้นจากราคาอาหารสำเร็จรูป ด้านตลาดแรงงานทยอยปรับดีขึ้นบ้างแต่โดยรวมยังเปราะบาง สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลน้อยลงจากเดือนก่อน ตามดุลการค้าที่เกินดุลเพิ่มขึ้น ขณะที่ดุลรายได้ บริการ และเงินโอนยังขาดดุลต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในหลายหมวด อาทิ หมวดที่มีมูลค่าเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมัน และหมวดสินค้าเกษตรแปรรูป โดยเฉพาะน้ำตาลที่ผลผลิตในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ยังได้รับผลดีจากอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัว อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าเกษตร อาทิ ผลไม้ ปรับลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของจีนที่เข้มงวดขึ้น ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามการกลับมาเปิดให้ลงทะเบียนเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.65 เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน เป็นผลจากสถานการณ์การระบาดในประเทศที่กลับมารุนแรงขึ้น ประกอบกับราคาพลังงานและราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงบ้าง อย่างไรก็ดี มาตรการภาครัฐยังเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยพยุงการใช้จ่ายของครัวเรือน ืเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน

Read More