ซื้อกองทุน เพื่อ “ลดหย่อนภาษี” ระหว่าง “SSF” กับ “RMF” เลือกอะไรดี ?

ซื้อกองทุน เพื่อ “ลดหย่อนภาษี” ระหว่าง “SSF” กับ “RMF” เลือกอะไรดี ?

สรุปความเหมือนและแตกต่างของกองทุน “SSF” กับ “RMF” ที่สามารถใช้ “ลดหย่อนภาษี” สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบไหนที่เหมาะกับเรา ?

การลงทุนซื้อกองทุน “SSF” กับ “RMF” อีกหนึ่งทางเลือกวางแผนการเงินเพื่อ “ลดหย่อนภาษี” สำหรับผู้ที่มีเงินได้ ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกๆ ปี ซึ่งกองทุนทั้ง 2 รูปแบบนี้แม้จะมีสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเหมือนกัน แต่มีเงื่อนไขต่างกัน ที่ต้องทำความเข้าใจก่อนซื้อ เพื่อช่วยให้วางแผนภาษีได้เหมาะสมที่สุด

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของกองทุน SSF และ RMF ทั้งความเหมือน ความแตกต่าง ดังนี้

กองทุน SSF และ กองทุน RMF ต่างกันอย่างไร ?

กองทุน SSF
SSF ย่อมาจาก “Super Saving Fund” หรือ “กองทุนรวมเพื่อการออม” สามารถลงทุนสะสมในกองทุนรวมและได้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี โดยมีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์หลักคือ

– ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท ไม่จำกัดแค่หุ้นไทย

– ผู้ลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปีเต็ม นับจากวันที่ลงทุนถึงวันเดียวกันในอีก 10 ปีข้างหน้า (นับวันชนวัน)

– ไม่กำหนดขั้นต่ำในการซื้อ

– ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี คือ ซื้อปีไหนลดหย่อนปีนั้น

– หักลดหย่อนได้ในปี 2563-2567

– ลงทุนสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อรวม RMF + SSF + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กบข. + กอช. + ประกันบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

กองทุน RMF
RMF ย่อมาจาก “Retiremant Mutual Fund” หรือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมที่เน้นการออมเงินระยะยาวไว้สำหรับใช้จ่ายตอน “เกษียณอายุ” ซึ่งจะคล้ายๆ กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ของภาคเอกชน และกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (กบข.) (Government Pension Fund) ข้าราชการ โดยมีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์หลักคือ

– สามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท

– ถือครองอย่างน้อย 5 ปี และต้องถือครองถึงอายุถึง 55 ปี

– ไม่กำหนดเงินขั้นต่ำในการซื้อ

– ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี เว้นได้มากที่สุด 1 ปี

– สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ในปีที่มีการลงทุน สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท แต่เมื่อรวม SSF + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กบข. + กอช. ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 500,000 บาท

ระหว่าง “SSF” กับ “RMF” ซื้ออันไหนดี ?

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า กองทุนทั้ง 2 ประเภทมีเป้าหมายเพื่อการออมเหมือนกัน แต่เงื่อนไขในการลงทุนที่แตกต่างกัน การเลือกลงทุนระหว่าง SSF กับ RMF จึงต้องเลือกตามวัตถุประสงค์การลงทุนของแต่ละคน รวมถึงความเสี่ยงที่สามารถรับได้ โดยอาจพิจารณาจากเป้าหมายการลงทุนในอนาคต ดังนี้

SSF เหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนในช่วงเวลาอย่างน้อย 10 ปีได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินก้อนที่นำมาลงทุน SSF และต้องการสิทธิลดหย่อนภาษี

ส่วน RMF เหมาะกับผู้ที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ เก็บในระยะยาว จึงเหมาะโดยเฉพาะกลุ่มอาชีพอิสระ ที่ไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ, ลูกจ้างหรือพนักงานที่ไม่มีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือลูกจ้าง/ข้าราชการ ที่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณที่ต้องการออมเพิ่ม